สื่อ
CFNT แถลงผลงานวิจัย – ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวด์ฟันดิงในไทย
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 Climate Finance Network Thailand (CFNT) ได้แถลงผลงานวิจัยฉบับที่สองในชื่อ “ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวด์ฟันดิงในไทย” ภายในงานยังมีการเสวนาหัวข้อ “ปลดพันธนาการโซลาร์” แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงจากผู้ประกอบการพลังงาน นักนโยบายสาธารณะ และผู้บริหารแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิง เพื่อหารือเส้นทางสู่อนาคตพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย รับชมงานที่น่าสนใจนี้เพื่อสำรวจแนวคิดที่พลิกโฉมและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดในประเทศไทย สารบัญ00:00 | กล่าวเปิดงานทั่วไป00:03:42 | กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย คุณสรินี ผู้อำนวยการ CFNT00:14:42 | สรุปงานวิจัย: ใช้พลังมวลชน01:25:00 | พัก01:34:50 | เสวนา: ปลดพันธนาการโซลาร์
CFNT Webinar Series – Integration of Higher Solar and Wind Energy into the Power Grid
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (CFNT) ได้จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Integration of Higher Solar and Wind Energy into the Power Grid” ภายในงานได้มีการพูดคุยถึงโอกาสและความท้าทายในการบูรณาการแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีความแปรปรวนสูง (Variable Renewable Energy หรือ VRE) เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม เข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศไทย โดยมีการสำรวจผลกระทบของพลังงานเหล่านี้ต่อการดำเนินงานของระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบดั้งเดิม พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า รวมถึงวิธีการที่การใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับสูงจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า และสนับสนุนการใช้งานพลังงานหมุนเวียนในหมู่ประชาชน วิทยากรในครั้งนี้คือ ดร.ธรินทร์ญา สุภาษา ผู้นำโครงการนโยบายพลังงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก Agora Energiewende ซึ่งได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
CFNT Webinar Series – Time to Act: Looming Climate Impacts on Thailand’s Financial Sector
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (CFNT) ได้จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Time to Act: Looming Climate Impacts on Thailand’s Financial Sector.” ภายในงานได้มีการพูดคุยถึงวิกฤติโลกร้อนว่าส่งผลกระทบต่อภาคการเงินของประเทศไทยอย่างไร เรามีวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านภูมิอากาศอย่างไรบ้าง และหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินจะมีบทบาทในจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างไร วิทยากรเรียนเชิญในครั้งนี้คือ ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดร.กรรณิการ์ มีความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเฉพาะนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการพัฒนาสีเขียว
เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน
เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Finance Network Thailand – CFNT) เป็นศูนย์วิจัยและองค์กรเครือข่าย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2567 เรามุ่งเน้นการส่งเสริมแนวปฏิบัติทางการเงินที่ยั่งยืนและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส วัตถุประสงค์สูงสุดของเราคือการเพิ่มการตอบสนองของภาคการเงินไทยต่อความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ และร่วมมือกับพันธมิตรในการกำหนดภูมิทัศน์ทางการเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนระดับโลก เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และครอบคลุม
ความเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจและหุ้นไทยจากวิกฤติโลกร้อน
‘รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์’ หัวหน้าทีมวิจัยจากเครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Finance Network Thailand) พูดคุยในหัวข้อ “ความเสี่ยงและโอกาสของเศรษฐกิจและหุ้นไทยจากวิกฤติโลกร้อน คลื่นการเปลี่ยนผ่านกำลังก่อตัว แล้วไทยอยู่ตรงไหนกัน?” กับคุณโสภณ ศุภมั่งมี บรรณาธิการ aomMoney ครอบคลุมประเด็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่านซึ่งอาจกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ และการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ
กระบวนการต่อรอง รุก รับ ปรับตัว ของชุมชนกับกลไกคาร์บอนเครดิต
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ ร่วมกับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “กระบวนการต่อรอง รุก รับ ปรับตัว ของชุมชนกับกลไกคาร์บอนเครดิต” นำเสนอโดย สฤณี อาชวานันทกุล ผู้อำนวยการ เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (CFNT) คุณสฤณีได้พูดคุยแลกเปลี่ยน ถึงหลักการ ประโยชน์และความท้าทายของคาร์บอนเครดิตป่าไม้ ร่วมถึงบทบาทสำคัญของชุมชนผู้ดูแลผืนป่าที่จะป้องกันไม่ให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตป่าไม้กลายเป็นเครื่องมือการฟอกเขียว
CFNT Webinar 1 ภูมิทัศน์ทางการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวนในระดับโลกและประเทศไทย
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (CFNT) ได้จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ‘Overview of Climate Finance: Global and Thailand Perspectives’ นำเสนอโดย ดร. อรศรัณย์ มนุอมร ที่ปรึกษาทางเทคนิคของ CFNT ปัจจุบัน ดร. อรศรัณย์ เป็นที่ปรึกษาให้กับธนาคารโลกด้านการเงินเพื่อภาวะโลกรวนและการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เธอมีประสบการณ์การทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งมากว่า 19 ปี โดยมุ่งเน้นไปที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้