Skip to content
CFNT Logo
  • เกี่ยวกับเรา
  • งานวิจัย
  • บทความ
  • สื่อ
  • กิจกรรม
  • สมาชิก
  • EN
  • TH
  • EN
  • TH

Briefings

Briefings

A Better Path is Possible Critique and Suggestions to Draft PDP2024

รายงานฉบับนี้ฉายภาพการวิเคราะห์ร่างแผนพัฒนาพลังไฟฟ้า พ.ศ. 2567 หรือร่างแผน PDP2024 ซึ่งยังคงพึ่งพาการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในสัดส่วนกว่า 49 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2580 ทั้งที่ประเทศตั้งเป้าว่าจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593  (ค.ศ. 2050) ร่างแผน PDP2024 ยังเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซแห่งใหม่อีก 6,300 เมกะวัตต์ รวมถึงใช้เทคโนโลยีที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา เช่น การผสมไฮโดรเจนกับก๊าซเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า และเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็ก (Small Modular Reactors: SMRs) แทนที่จะเร่งพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนกว่าอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ รายงานฉบับนี้ฉายให้เห็นต้นทุนแฝงที่มาพร้อมกับการปล่อยคาร์บอน ความผันผวนของราคาก๊าซธรรมชาติเหลว และค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่เพื่อพัฒนาระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอน เรามองว่าทางเลือกที่เหมาะสมกว่าคือการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเร่งด่วนซึ่งจะช่วยลดต้นทุนพลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน และสอดคล้องกับเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไทยกำหนดไว้ในเวทีโลก หากไทยต้องการคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เราจำเป็นต้องปรับวิธีคิดในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าโดยมองไปข้างหน้า มากกว่าพยายามต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีในปัจจุบันซึ่งกำลังจะล้าสมัยในอนาคตอันใกล้ 

โดยCFNTวันที่12/07/2412/07/24
Briefings

Thailand’s Fossil Lock-In:Stranded Risk of Midstream Oil & Gas Infrastructure

รายงานฉบับนี้วิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินจากการลงทุนขยายโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซขั้นกลางน้ำในประเทศไทยที่รวมถึงธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลว เมื่อโลกเริ่มเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ อาทิ โรงกลั่นน้ำมันแห่งใหม่มูลค่าเงินลงทุน 1.89 แสนล้านบาท และโครงการท่าเรือเพื่อนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี 6.6 หมื่นล้านบาทอาจเผชิญความเสี่ยงทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ เนื่องจากต้องเผชิญผลกระทบจากนโยบายพลังงานระดับโลกและการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน รวมถึงความต้องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่จะแตะระดับสูงสุดในปี 2030 หากต้องการบรรเทาความเสี่ยงจากสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต ประเทศไทยจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านพลังงานโดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสะอาดมากยิ่งขึ้น และปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับคำมั่นด้านภูมิอากาศที่ให้ไว้กับนานาประเทศ การเปลี่ยนนโยบายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในห้วงยามของการเปลี่ยนผ่าน โดยจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนที่สูญค่าและสร้างความยั่งยืนในอนาคต 

โดยCFNTวันที่12/06/2414/06/24

เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (CFNT)
2 สุขุมวิท ซอย 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพฯ 10110

  • Climate Finance Network ThailandClimate Finance Network Thailand
  • Climate Finance Network ThailandClimate Finance Network Thailand
  • Climate Finance Network ThailandClimate Finance Network Thailand
  • Climate Finance Network Thailandinfo@climatefinancethai.com
  • Climate Finance Network Thailand+66 96 126 2226
  • เกี่ยวกับเรา
  • งานวิจัย
  • บทความ
  • สื่อ
  • กิจกรรม
  • สมาชิก
  • EN
  • TH

©2025 Climate Finance Network Thailand All right reserved.

นโยบายความเป็นส่วนตัวนโยบายความเป็นส่วนตัว   |   Membership Terms   |   เงื่อนไขการเป็นสมาชิก