บทความ
สรุปประเด็นการแถลงผลงานวิจัย หัวข้อ “ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวน์ฟันดิงในไทย”
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ หัวหน้าทีมวิจัย เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Finance Network Thailand: CFNT) แถลงผลงานวิจัย หัวข้อ “ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวน์ฟันดิงในไทย” ที่โรงแรมแมริออท กรุงเทพฯ สุขุมวิท เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 (ดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่นี่) ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แต่ปัจจุบันกลับมีสัดส่วนเพียง 1-2% เท่านั้น ซึ่งปัญหาของการเข้าถึงการติดตั้งโซลาร์ในภาคครัวเรือน คือ ราคา การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและความยุ่งยากในการขออนุญาต ในประเด็นเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน CFNT ได้สำรวจระบบ Crowdfunding ในต่างประเทศที่ใช้กับโครงการโซลาร์โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรป คือ Lumo จากฝรั่งเศส, Trine จากสวีเดน, Zonhub จากเนเธอร์แลนด์ และ Ethex จากสหราชอาณาจักร พบว่าจุดร่วมของแพลตฟอร์มเหล่านี้คือ การให้แรงจูงใจทางการเงินจากรัฐบาลที่ต่อเนื่องยาวนาน โดยภาครัฐจะจ่ายเงินอุดหนุนส่วนเพิ่มเพื่อให้ภาคพลังงานหมุนเวียนเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเป็นสัญญาระยะยาว สอง คือความโปร่งใสกับ Due Diligence แพลตฟอร์มเหล่านี้มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการอย่างละเอียด เพื่อให้นักลงทุนตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ สาม ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความหลากหลาย และสี่ […]
พลังงานแสงอาทิตย์แพงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลจริงหรือ?
ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่เคยยึดติดกับความคิดที่ว่าพลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกราคาแพงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันคือวันที่รัสเซียตัดสินใจรุกรานยูเครนที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้ตลาดก๊าซทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซเป็นสัดส่วนสูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าไทยจะสามารถผลิตก๊าซเองได้บางส่วน แต่ราคาจำหน่ายเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าก็ผันผวนไปตามตลาดโลก นี่คือสาเหตุที่ราคาไฟฟ้าไทยพุ่งทะลุไปเกิน 5 บาทต่อหน่วยซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์! ในฐานะนักการเงิน ผมพยายามหาทางออกในระยะยาว แต่น่าเสียดายที่ตลาดไฟฟ้าของไทยเป็นระบบผูกขาดโดยรัฐวิสาหกิจ ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ จึงถูก ‘มัดมือชก’ ทำให้มีทางเลือกเพียงหนึ่งเดียวที่เหลือคือต้องหาทางผลิตไฟฟ้าด้วยตนเอง ผมจึงหันมามองศึกษาต้นทุนการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันเพื่อประกอบการตัดสินใจ แม้ว่าภาพจำของพลังงานแสงอาทิตย์คือการที่รัฐรับซื้อในราคามากกว่า 6 บาทเมื่อราวทศวรรษก่อน แต่เชื่อไหมครับว่าต้นทุนแผงพลังงานแสงอาทิตย์ถูกลงมาก องค์การพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency) ประมาณการว่าต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงถึง 83 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2010–2022 และถ้าหันไปดูราคารับซื้อของรัฐไทยเอง ก็พบว่าหล่นลงมาอยู่ที่ 2.20 บาท เท่ากับว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต่อหน่วยย่อมต่ำกว่าตัวเลขดังกล่าวอย่างแน่นอน แต่ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงสักบาทแบบนี้จะต้องคำนวณต้นทุนอย่างไร? ด้วยความฉงนสงสัย ผมก็ไปค้นจนได้คำตอบคือคำนวณจาก ‘ต้นทุนไฟฟ้าปรับระดับ’ (Levelized Cost of Energy) หรือที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า LCOE ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเพื่อเปรียบเทียบว่าต้นทุนไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานใดราคาต่ำกว่ากัน LCOE คำนวณอย่างไร การผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนและโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น แม้จะได้ ‘ไฟฟ้า’ เป็นผลผลิตเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างสำคัญคือพลังงานหมุนเวียนไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิง แต่โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงซึ่งมีราคาผันผวนตลอดเวลา เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่าโรงไฟฟ้าใดต้นทุนต่ำกว่า […]
อยากให้ยักษ์ใหญ่มาลงทุน แต่ระบบไฟฟ้าไทย ‘เขียว’ พอแล้วหรือยัง?
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม หลายคนคงผ่านตาข่าวฮือฮาว่าด้วยการมาเยือนประเทศไทยของ สัตยา นาเดลลา ผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก Microsoft พร้อมกับคำมั่นสัญญาว่าจะมาลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย และพัฒนาศักยภาพชาวไทยให้พร้อมใช้งานเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่อย่างปัญญาประดิษฐ์ ข่าวดังกล่าวนับเป็นแสงแห่งความหวังของใครหลายคน ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยเผชิญหน้ากับทางตัน เพราะหวังพึ่งพาสารพัดอุตสาหกรรมยุคเก่า โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เป็น ‘เดอะแบก’ ของเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ทั้งรถยนต์สันดาปที่กำลังเผชิญภัยคุกคามจากยานยนต์ไฟฟ้า และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive) ที่กำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีโซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive) และการเก็บข้อมูลในคลาวด์ ขณะที่เม็ดเงินลงทุนในเทคโนโลยีดาวรุ่ง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือเซมิคอนดักเตอร์ถูกผันไปยังประเทศข้างเคียง น่าเสียดายที่จวบจนปัจจุบันเรายังไม่เห็นตัวเลขเม็ดเงินลงทุนที่ชัดเจนจาก Microsoft แตกต่างจากแผนการลงทุนของในประเทศอื่นๆ แถบเอเชียที่ไมโครซอฟต์ประกาศตัวเลขชัดเจน เช่น แผนการลงทุนในอินโดนีเซีย มูลค่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในประเทศมาเลเซีย มูลค่า 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำไปสู่คำถามว่า เพราะเหตุใด Microsoft จึงไม่ประกาศตัวเลขของประเทศไทย สำนักข่าว THE STANDARD WEALTH สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสองท่านที่เสนอ 2 ความไม่พร้อมของประเทศไทย ประกอบด้วยความไม่พร้อมด้านแรกคือนโยบาย ความไม่พร้อมด้านที่สองคือแรงงาน ส่วนในบทความนี้ ผมขอเสนอความไม่พร้อมด้านที่สาม คือการผลิตไฟฟ้าของไทยที่อาจยังไม่ ‘เขียว’ พอจะดึงดูดยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟต์ เมื่อเหล่ายักษ์ใหญ่ต้องการใช้พลังงาน ‘เขียว’ […]
วิกฤติโลกรวนสร้างความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจอย่างไร?
เนื่องจากภาคธุรกิจคือตัวการสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ และขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจเองก็กำลังเผชิญความเสี่ยงมหาศาลจากความแปรปรวนของสภาพอากาศเช่นนี้ เราจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภาคธุรกิจคือกุญแจสำคัญที่จะพาไปสู่ทางออกวิกฤตโลกรวน หากว่าภาคธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำได้
วิกฤติโลกรวนเกิดจากอะไร? วิทยาศาสตร์ว่าด้วยภาวะโลกร้อน
ไม่ว่าจะเผชิญกับอากาศร้อนดังนรก หรือโดนถล่มโดยฝนห่าใหญ่ จนถึงปัจจุบันนี้ยังมีคนเชื่ออยู่ว่า “โลกรวน” หรือ Climate Change ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากมนุษย์ แต่เป็นเรื่องที่เป็นไปตามวัฏจักรของธรรมชาติ แม้วิทยาศาตร์จะมีคำตอบให้กับเรื่องนี้มานานนับทศวรรษก็ตาม ฝนถล่มฟ้าเมื่อหลายวันที่ผ่านมาคงจะทำให้ชีวิตหลายคนลำบากไม่น้อย ถึงแม้ในอีกมุมนึงฝนห่าใหญ่จะมาคลายความร้อนที่ต่อเนื่องเนิ่นนานตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมไปได้บ้าง อากาศที่ร้อนขึ้นอย่างผิดสังเกตกลายเป็นกระแสเสียงบ่นระงมว่า ‘ร้อนกว่าสมัยเด็กๆ’ ความรู้สึกของเราสอดคล้องกับสถิติที่ Copernicus Climate Change Service เปิดเผยว่าอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกในเดือนเมษาที่ผ่านมาร้อนขึ้นราว 1.61 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ปฏิเสธไม่ได้ว่าความร้อนทะลุปรอทเมื่อนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ 99 คนจาก 100 คน เห็นต้องตรงกันว่าแนวโน้มอุณภูมิบนพื้นผิวโลกเฉลี่ยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมามีสาเหตุสำคัญจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ การรับมือ ‘สภาวะโลกร้อน’ เป็นประเด็นที่ถูกอภิปรายอย่างกว้างขวางบนเวทีโลกมายาวนานกว่าสามทศวรรษโดยมีจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการคืออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งช่วงแรกเริ่มประสบอุปสรรคและคำถามนานัปการ แต่เมื่อภาวะโลกรวนเริ่มเผยตัวรุนแรงยิ่งขึ้น นานาประเทศจึงเริ่มตระหนักว่าภาวะโลกร้อนคือ ‘ของจริง’ ไม่ใช่แค่คำทำนายหายนะในนวนิยายวิทยาศาสตร์ ความพยายามรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจังจึงเริ่มต้นอีกครั้งโดยมีหมุดหมายสำคัญคือข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมาซึ่งมุ่งมั่นจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ในบทความนี้ ผู้เขียนอยากชวนผู้อ่านไปคลายข้อสงสัยว่าด้วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของภาวะโลกร้อน รวมถึงข้อพิสูจน์ว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ต้นธารของวิทยาศาสตร์โลกร้อน แม้หลายคนจะมองว่าศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องสลับซับซ้อน แต่ทราบไหมครับว่าครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ต้องสืบย้อนไปถึงปี 1896 […]
‘สมาร์ทกริด’ เทคโนโลยีจำเป็น ก่อนเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน
ระบบสายส่งไฟฟ้า (electrical grid) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ระบบกริด เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการขององค์การรัฐวิสาหกิจของไทย และไม่ค่อยมีใครพูดถึงมากนัก แต่ระบบสายส่งไฟฟ้ามีความสำคัญต่อระบบไฟฟ้าไทย เพราะช่วยให้เราทุกคนมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคง ในยุควิกฤติโลกรวนที่นานาประเทศทั่วโลกต่างต้องลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ระบบสายส่งไฟฟ้านับว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานอันดับแรกๆ ที่ต้องเร่งพัฒนา เพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน สาเหตุก็เนื่องจากรูปแบบการผลิตไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ เดิมทีระบบสายส่งไฟฟ้าสร้างมาเพื่อส่งพลังงานไฟฟ้าแรงสูงจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งไปยังครัวเรือนต่างๆ แต่พลังงานหมุนเวียน เช่น แผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา จะคล้ายกับโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋วที่กระจายตัวอยู่หลากหลายแหล่ง ยังไม่นับลักษณะการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากคาดการณ์ไม่ดี จัดการไม่ได้ ระบบไฟฟ้าทั้งหมดก็อาจระส่ำระสาย แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เพิ่มเป้าหมายสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้าจาก 20 เปอร์เซ็นต์เป็น 37 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2580 โดยมีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวชูโรงโดยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 22 เปอร์เซ็นต์ของกำลังการผลิตไฟฟ้า โดยล่าสุดรัฐบาลเตรียมประกาศแผนพลังงานชาติพร้อมกับระบุว่า พร้อมเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในระบบให้ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ความฝันดังกล่าวคงยากจะเป็นความจริง หากรัฐบาลไม่ทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนา ‘สมาร์ทกริด’ ให้สามารถรองรับรูปแบบการผลิตไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพิ่มความยืดหยุ่นระบบไฟฟ้าด้วยสมาร์ทกริด สมาร์ทกริดไม่มีนิยามตายตัวที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐฯ (National Institute of Standards and […]
กลไกค่าไฟที่ทำให้คนไทยกลายเป็น ‘นักแบก’
Photo credit: สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) หน้าร้อนแบบนี้ ไม่ว่าใครก็คงเริ่มหลอนกับใบเรียกเก็บค่าไฟฟ้าที่กำลังจะมาถึง เพราะย้อนกลับไปเมื่อต้นปีที่แล้ว ผมและผู้อ่านหลายคนคงเจอกับปัญหา ‘ค่าไฟทะลุเพดาน’ กับตาตัวเอง โดยมีสาเหตุสำคัญเกิดจากสององค์ประกอบหลักคืออากาศที่ร้อนจัดและค่าไฟผันแปรที่พุ่งกระฉูด นับตั้งแต่วันนั้น ประเด็นเรื่องค่าไฟก็เป็นปัญหาที่ค้างคาใจผมอยู่ตลอดเวลา จนมาวันนี้จึงพอจะสรุปได้ว่าปัญหาทั้งหมดทั้งมวลอาจอยู่ที่ ‘กลไกราคา’ ปัจจุบัน ที่ส่งผ่านต้นทุนทั้งหมดมายังผู้บริโภคโดยตรง (Cost Pass-Through) ซึ่งสามารถตีความว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าของไทยทั้งระบบนั้นไม่มีความเสี่ยงและไม่มีทางขาดทุน เพราะไม่ว่าต้นทุนในการผลิตหรือราคาเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นเพียงใด ต้นทุนทุกบาททุกสตางค์ก็จะส่งผ่านมายังคนไทยทุกคนแบบหารเฉลี่ย คงไม่ผิดนักหากจะยกย่องคนไทยว่าเป็น ‘นักแบก’ และต้องก้มหน้าก้มตาแบกต่อไปตราบใดที่กลไกราคากำหนดค่าไฟฟ้ายังคงเป็นเช่นเดิม ในบทความนี้ ผู้เขียนจะพาไปสำรวจโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตและจัดจำหน่ายไฟฟ้าของไทย รวมถึงแนวทางในการเพิ่มการแข่งขันในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าที่น่าจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ โครงสร้างพลังงานไทย เมื่อพูดเรื่องระบบไฟฟ้า หนึ่งในชื่อแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือ กฟผ. องค์กรรัฐวิสาหกิจที่ก่อตั้งโดยมีบทบาทหลักเพื่อ ‘ผลิตไฟฟ้า’ อย่างไรก็ตาม บทบาทของ กฟผ.เปลี่ยนแปลงไปหลังจากไทยปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าสู่ระบบที่มีผู้รับซื้อไฟฟ้าเพียงรายเดียว (Enhanced Single Buyer) ผมขอชวนผู้อ่านมาลองทายกันเล่นๆ ว่า ล่าสุด กฟผ.มีกำลังการผลิตไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนทั้งสิ้นกี่เปอร์เซ็นต์ของระบบไฟฟ้าไทย 90%? – ตัวเลขนี้สูงเกินไปมากเลยครับ 75%? – ก็ยังสูงเกินไปอยู่ดี 50%? – ครึ่งๆ แบบนี้ก็ยังไม่ถูกครับ […]
V2G สร้างรายได้จากยานยนต์ไฟฟ้าให้รถเป็นโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋ว ในฐานะ ‘แบตเตอรี่มีล้อ’
หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายประเทศรวมถึงไทย ลังเลที่จะเปลี่ยนผ่านการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียน คือความไม่เสถียรของระบบผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมลมฟ้าอากาศได้ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์จึงผันผวนแบบนาทีต่อนาที ต่างจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติที่สามารถกดปุ่มเปิดปิดตามความต้องการ เหล่านักวิทยาศาสตร์และวิศวกรต่างพยายามคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจัดการความผันผวนของพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ หนึ่งในนั้นคือแบตเตอรี่สำหรับเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งเปรียบเสมือนข้อต่อที่ช่วยจัดการความไม่สมดุลระหว่างกำลังการผลิตไฟฟ้าและความต้องการใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม เหล่าประเทศที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอนก็ยังเผชิญกับความท้าทายสำคัญ คือต้นทุนค่าแบตเตอรี่ที่ปัจจุบันยังนับว่าแพงแสนแพง หากจะติดตั้งแบตเตอรี่ที่จ่ายไฟเพียงพอสำหรับบ้านหนึ่งหลัง ก็อาจต้องใช้งบประมาณราวครึ่งล้านบาท แต่ความนิยมของยานยนต์ไฟฟ้าอาจเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เพราะคนจำนวนมากยอมควักกระเป๋าเงินร่วมล้านเพื่อซื้อรถยนต์ไฟฟ้า หรือ ‘แบตเตอรี่ที่มีล้อ’ เท่ากับว่าถ้าประเทศไหนมีโครงข่ายไฟฟ้าหรือกริดที่ฉลาดเพียงพอ ก็จะสามารถรับซื้อไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้าที่เสียบชาร์จอยู่ได้ ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่พุ่งสูงในบางช่วงเวลา แนวคิดดังกล่าวเรียกว่าการจ่ายไฟฟ้าจากยานยนต์สู่กริด (vehicle-to-grid) หรือ V2G ซึ่งมีโครงการทดลองหลายแห่งทั้งในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยที่ Renault-Nissan-Mitsubishi พันธมิตรสามค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่เป็นเจ้าตลาดยานยนต์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีรับและจ่ายไฟฟ้าในคันเดียวกัน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เกิดความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในแวดวง V2G คือการที่ บริษัท Octopus Energy รับซื้อไฟฟ้าเชิงพาณิชย์จากยานยนต์ไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร โดยใช้แพลตฟอร์มที่ชื่อว่า Kraken ระบบอัตโนมัติที่จะจัดการ “ชาร์จไฟรถยนต์ในช่วงที่ค่าไฟถูก และจ่ายไฟเข้าสู่กริดในช่วงที่มีความต้องการใช้สูง” โดยเพียงแค่เสียบชาร์จไว้อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง เจ้าของรถยนต์ชาวอังกฤษก็สามารถทำเงินได้ 850 ปอนด์ หรือราว 40,000 บาทต่อปี ในยุคที่วิกฤติโลกรวนเป็นเรื่องเร่งด่วน […]
ปิดสวิตช์ตัวการที่ทำให้ค่าไฟแพง ในงานเสวนา “ปิด-เปิดสวิตช์ โครงสร้างค่าไฟให้แฟร์”
วันที่ 23 มีนาคม ซึ่งตรงกับวัน Earth Hour หรือวันปิดไฟเพื่อโลก กลุ่ม JustPow อันเป็นการร่วมกันขององค์กรที่ทำงานในด้านข้อมูล องค์ความรู้ การสื่อสารในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ Data Hatch, Epigram, Greenpeace Thailand, JET in Thailand และ Rocket Media Lab จัดงานเสวนา “ปิด-เปิดสวิตช์ โครงสร้างค่าไฟให้แฟร์และโปร่งใส ประชาชนต้องทำอย่างไร” ที่ชั้น L หอศิลปกรุงเทพฯ (BACC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการ ‘ปิดสวิตช์อะไรให้ค่าไฟแฟร์ เปิดสาเหตุอะไรทำค่าไฟแพง’ ระหว่างวันที่ 19-24 มีนาคม สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าคณะวิจัย Fair Finance Thailand กล่าวถึงปัญหาความไม่เป็นธรรมของโครงสร้างค่าไฟว่า มี 3 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การที่ไม่มีใครต้องรับผิดชอบกับการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เกินจริง ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดและส่งผลต่อค่าไฟ โดยการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเกินจริงที่เกิดขึ้นมาตลอด […]