ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวด์ฟันดิงในไทย
ประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์อย่างล้นเหลือแต่ความก้าวหน้าในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์นั้นกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าโดยไม่อาจเติมเต็มศักยภาพที่มี รายงานฉบับนี้สำรวจความเป็นไปได้ในการใช้การระดมทุนจากมวลชนหรือคราวด์ฟันดิงในฐานะแหล่งเงินทุนทางเลือกเพื่อปิดช่องว่างในการหาเงินทุนสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาในภาคครัวเรือน เราเสนอโมเดลระดมทุนจากมวลชนที่สอดคล้องกับบริบทไทย 6 รูปแบบประกอบด้วย ผ่อนจ่ายตามเงินที่ประหยัดได้ (Pay-As-You-Save) ที่ช่วยให้ครัวเรือนติดตั้งแผงโซลาร์โดยไม่ต้องจ่ายเงินลงทุนตั้งต้น และผ่อนชำระค่าแผงโซลาร์ตามค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ในแต่ละเดือน พอร์ตฟอร์ลิโอแผงโซลาร์บนหลังคา คือการรวบรวมแผงโซลาร์ที่ติดตั้งอยู่บนหลายหลังคาเรือนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ร่วมมือกับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คือการนำเงินไปลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์ในโครงการบ้านจัดสรรแห่งใหม่ ผ่อนชำระผ่านใบเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภค (On-bill financing) คือการผ่อนชำระค่าแผงโซลาร์ผ่านใบเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภค ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าโดยจ่ายชำระเท่าที่ใช้งาน (Off-grid Pay-As-You-Go) นำเสนอทางเลือกที่ยืดหยุ่นสำหรับชุมชนที่อยู่นอกกโครงข่ายไฟฟ้าให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้า แผงโซลาร์บนหลังคาอาคารหน่วยงานภาครัฐ คือการติดตั้งแผงโซลาร์บนอาคารภาครัฐโดยไม่แสวงหากำไรโดยแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้กลับคืนให้หน่วยงาน โมเดลเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคเรื่องเงินลงทุนตั้งต้นในการติดตั้งแผงโซลาร์และดึงดูดนักลงทุนเน้นผลลัพธ์ แต่โมเดลเหล่านี้จะสำเร็จได้ก็จำเป็นต้องมีนโยบายสนับสนุนที่แข็งแกร่ง คณะวิจัยเสนอว่าภาครัฐควรเสริมสร้างแรงจูงใจทางการเงิน ดำเนินนโยบายหักกลบลบหน่วยไฟฟ้า เพิ่มความคล่องตัวในกระบวนการอนุมัติ และเปิดให้มีการแข่งขันในตลาดการผลิตไฟฟ้า การดำเนินนโยบายเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยปลดศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ บรรลุเป้าหมายพลังงานหมุนเวียน และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ยุติธรรม บทสรุปผู้บริหาร (ภษาไทย)