การชำระบัญชีฟอสซิล: การประเมินมูลค่าสินทรัพย์สูญค่าในอนาคตของโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซในประเทศไทย

Share

งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางการเงินจากการเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทย ผ่านการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต (stranded assets) ของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง คณะวิจัยใช้แบบจำลองการคิดลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow model หรือ DCF model) ของโรงไฟฟ้าลักษณะนี้รายโรง ในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น 3 ฉากทัศน์ ประกอบด้วย (1) กรณีฐาน (base case) ใช้แผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561 ถึง 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (2) กรณีการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างรวดเร็ว และ (3) กรณีพลังงานหมุนเวียน 100% ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยเผชิญความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญจากสินทรัพย์สูญค่าในอนาคตซึ่งอาจมีมูลค่าสูงถึง 3.6 แสนล้านบาทสำหรับฉากทัศน์การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างรวดเร็ว และ 5.3 แสนล้านบาทในฉากทัศน์พลังงานหมุนเวียน 100% สะท้อนความเสี่ยงของผู้ถือหุ้นและนักลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัทธุรกิจโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลในไทย และตอกย้ำความสำคัญของการเร่งลงทุนในพลังงานหมุนเวียนในกรอบเวลาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการรับมือภาวะโลกรวนในระดับโลก ซึ่งความชัดเจนดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

การชำระบัญชีฟอสซิล: การประเมินมูลค่าสินทรัพย์สูญค่าในอนาคตของโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซในประเทศไทย

เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (CFNT)