ขับเคลื่อนภาคการเงินและการลงทุน
เพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน และ สร้างอนาคตที่ยั่งยืน
Climate Finance Network Thailand (CFNT) หรือ เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2567 เราเป็นองค์กรวิจัยและกลุ่มเครือข่ายที่มุ่งมั่นสนับสนุนการเงินที่ยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและบรรลุเป้าหมายในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้อยู่ในกรอบ 1.5 องศาเซลเซียสตามข้อตกลงปารีส
การเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวนในประเทศไทย
CFNT ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของภาคการเงินในการรับมือกับภาวะโลกรวน วัตถุประสงค์หลักของ CFNT คือการจุดประกายความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และขยายผลลัพธ์เชิงนโยบายด้านการเงินเพื่อภาวะโลกรวน ผ่านงานวิจัยที่เน้นเสนอทางออกและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมกับขยายเครือข่ายคนที่สนใจในประเด็นเดียวกัน เป้าหมายสูงสุดของเราคือการช่วยให้ภาคการเงินการลงทุนในประเทศไทยรับมือความท้าทายด้านภาวะโลกรวนได้ดียิ่งขึ้น ผ่านการผนึกกำลังกับองค์กรพันธมิตรที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน CFNT มุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างภูมิทัศน์ทางการเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนของโลก และส่งเสริมเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพร้อมรับมือวิกฤตโลกรวน
กิจกรรม
เชิญชวนเข้าร่วมงานแถลงผลงานวิจัย “ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวด์ฟันดิงในไทย”
26 พฤศจิกายน 2567 l 08:30 – 13:30 น.
ห้องประชุมเบญจสิริ ชั้น 3 โรงแรมแมริออท สุขุมวิท (BTS ทองหล่อ) และ Facebook page – Climate Finance Network Thailand
เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Finance Network Thailand หรือ CFNT) ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเปิดตัวเครือข่ายฯ พร้อมแถลงผลงานวิจัยชิ้นแรก “ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวด์ฟันดิงในไทย” งานจะจัดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08:30 น. ถึง 13:30 น. โดยเป็นการบรรยายภาษาไทยและมีล่ามแปลอังกฤษตลอดการบรรยาย และผ่านการถ่ายทอดสดทาง Facebook page – Climate Finance Network Thailand […]
งานวิจัย แนะนำ
ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวด์ฟันดิงในไทย
ประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์อย่างล้นเหลือแต่ความก้าวหน้าในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์นั้นกลับเป็นไปอย่างเชื่องช้าโดยไม่อาจเติมเต็มศักยภาพที่มี รายงานฉบับนี้สำรวจความเป็นไปได้ในการใช้การระดมทุนจากมวลชนหรือคราวด์ฟันดิงในฐานะแหล่งเงินทุนทางเลือกเพื่อปิดช่องว่างในการหาเงินทุนสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาในภาคครัวเรือน เราเสนอโมเดลระดมทุนจากมวลชนที่สอดคล้องกับบริบทไทย 6 รูปแบบประกอบด้วย ผ่อนจ่ายตามเงินที่ประหยัดได้ (Pay-As-You-Save) ที่ช่วยให้ครัวเรือนติดตั้งแผงโซลาร์โดยไม่ต้องจ่ายเงินลงทุนตั้งต้น และผ่อนชำระค่าแผงโซลาร์ตามค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ในแต่ละเดือน พอร์ตฟอร์ลิโอแผงโซลาร์บนหลังคา คือการรวบรวมแผงโซลาร์ที่ติดตั้งอยู่บนหลายหลังคาเรือนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ร่วมมือกับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คือการนำเงินไปลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์ในโครงการบ้านจัดสรรแห่งใหม่ ผ่อนชำระผ่านใบเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภค (On-bill financing) คือการผ่อนชำระค่าแผงโซลาร์ผ่านใบเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภค ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าโดยจ่ายชำระเท่าที่ใช้งาน (Off-grid Pay-As-You-Go) นำเสนอทางเลือกที่ยืดหยุ่นสำหรับชุมชนที่อยู่นอกกโครงข่ายไฟฟ้าให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้า แผงโซลาร์บนหลังคาอาคารหน่วยงานภาครัฐ คือการติดตั้งแผงโซลาร์บนอาคารภาครัฐโดยไม่แสวงหากำไรโดยแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้กลับคืนให้หน่วยงาน โมเดลเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคเรื่องเงินลงทุนตั้งต้นในการติดตั้งแผงโซลาร์และดึงดูดนักลงทุนเน้นผลลัพธ์ แต่โมเดลเหล่านี้จะสำเร็จได้ก็จำเป็นต้องมีนโยบายสนับสนุนที่แข็งแกร่ง คณะวิจัยเสนอว่าภาครัฐควรเสริมสร้างแรงจูงใจทางการเงิน ดำเนินนโยบายหักกลบลบหน่วยไฟฟ้า เพิ่มความคล่องตัวในกระบวนการอนุมัติ และเปิดให้มีการแข่งขันในตลาดการผลิตไฟฟ้า การดำเนินนโยบายเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยปลดศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ บรรลุเป้าหมายพลังงานหมุนเวียน และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ยุติธรรม บทสรุปผู้บริหาร (ภษาไทย)
A Better Path is Possible Critique and Suggestions to Draft PDP2024
รายงานฉบับนี้ฉายภาพการวิเคราะห์ร่างแผนพัฒนาพลังไฟฟ้า พ.ศ. 2567 หรือร่างแผน PDP2024 ซึ่งยังคงพึ่งพาการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในสัดส่วนกว่า 49 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2580 ทั้งที่ประเทศตั้งเป้าว่าจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ร่างแผน PDP2024 ยังเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซแห่งใหม่อีก 6,300 เมกะวัตต์ รวมถึงใช้เทคโนโลยีที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา เช่น การผสมไฮโดรเจนกับก๊าซเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า และเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็ก (Small Modular Reactors: SMRs) แทนที่จะเร่งพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนกว่าอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ รายงานฉบับนี้ฉายให้เห็นต้นทุนแฝงที่มาพร้อมกับการปล่อยคาร์บอน ความผันผวนของราคาก๊าซธรรมชาติเหลว และค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่เพื่อพัฒนาระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอน เรามองว่าทางเลือกที่เหมาะสมกว่าคือการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเร่งด่วนซึ่งจะช่วยลดต้นทุนพลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน และสอดคล้องกับเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไทยกำหนดไว้ในเวทีโลก หากไทยต้องการคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เราจำเป็นต้องปรับวิธีคิดในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าโดยมองไปข้างหน้า มากกว่าพยายามต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีในปัจจุบันซึ่งกำลังจะล้าสมัยในอนาคตอันใกล้
Thailand’s Fossil Lock-In:Stranded Risk of Midstream Oil & Gas Infrastructure
รายงานฉบับนี้วิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินจากการลงทุนขยายโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซขั้นกลางน้ำในประเทศไทยที่รวมถึงธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลว เมื่อโลกเริ่มเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ อาทิ โรงกลั่นน้ำมันแห่งใหม่มูลค่าเงินลงทุน 1.89 แสนล้านบาท และโครงการท่าเรือเพื่อนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี 6.6 หมื่นล้านบาทอาจเผชิญความเสี่ยงทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ เนื่องจากต้องเผชิญผลกระทบจากนโยบายพลังงานระดับโลกและการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน รวมถึงความต้องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่จะแตะระดับสูงสุดในปี 2030 หากต้องการบรรเทาความเสี่ยงจากสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต ประเทศไทยจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านพลังงานโดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสะอาดมากยิ่งขึ้น และปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับคำมั่นด้านภูมิอากาศที่ให้ไว้กับนานาประเทศ การเปลี่ยนนโยบายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในห้วงยามของการเปลี่ยนผ่าน โดยจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนที่สูญค่าและสร้างความยั่งยืนในอนาคต
การชำระบัญชีฟอสซิล: การประเมินมูลค่าสินทรัพย์สูญค่าในอนาคตของโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซในประเทศไทย
งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางการเงินจากการเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทย ผ่านการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สูญค่าในอนาคต (stranded assets) ของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง คณะวิจัยใช้แบบจำลองการคิดลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow model หรือ DCF model) ของโรงไฟฟ้าลักษณะนี้รายโรง ในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น 3 ฉากทัศน์ ประกอบด้วย (1) กรณีฐาน (base case) ใช้แผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561 ถึง 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (2) กรณีการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างรวดเร็ว และ (3) กรณีพลังงานหมุนเวียน 100% ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยเผชิญความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญจากสินทรัพย์สูญค่าในอนาคตซึ่งอาจมีมูลค่าสูงถึง 3.6 แสนล้านบาทสำหรับฉากทัศน์การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างรวดเร็ว และ 5.3 แสนล้านบาทในฉากทัศน์พลังงานหมุนเวียน 100% สะท้อนความเสี่ยงของผู้ถือหุ้นและนักลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัทธุรกิจโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลในไทย และตอกย้ำความสำคัญของการเร่งลงทุนในพลังงานหมุนเวียนในกรอบเวลาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการรับมือภาวะโลกรวนในระดับโลก ซึ่งความชัดเจนดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่านพลังงาน
บทความ
สรุปประเด็นการแถลงผลงานวิจัย หัวข้อ “ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวน์ฟันดิงในไทย”
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ หัวหน้าทีมวิจัย เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Finance Network Thailand: CFNT) แถลงผลงานวิจัย หัวข้อ “ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวน์ฟันดิงในไทย” ที่โรงแรมแมริออท กรุงเทพฯ สุขุมวิท เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 (ดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่นี่) ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แต่ปัจจุบันกลับมีสัดส่วนเพียง 1-2% เท่านั้น ซึ่งปัญหาของการเข้าถึงการติดตั้งโซลาร์ในภาคครัวเรือน คือ ราคา การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและความยุ่งยากในการขออนุญาต ในประเด็นเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน CFNT ได้สำรวจระบบ Crowdfunding ในต่างประเทศที่ใช้กับโครงการโซลาร์โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรป คือ Lumo จากฝรั่งเศส, Trine จากสวีเดน, Zonhub จากเนเธอร์แลนด์ และ Ethex จากสหราชอาณาจักร พบว่าจุดร่วมของแพลตฟอร์มเหล่านี้คือ การให้แรงจูงใจทางการเงินจากรัฐบาลที่ต่อเนื่องยาวนาน โดยภาครัฐจะจ่ายเงินอุดหนุนส่วนเพิ่มเพื่อให้ภาคพลังงานหมุนเวียนเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเป็นสัญญาระยะยาว สอง คือความโปร่งใสกับ Due Diligence แพลตฟอร์มเหล่านี้มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการอย่างละเอียด เพื่อให้นักลงทุนตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ สาม ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความหลากหลาย และสี่ […]
พลังงานแสงอาทิตย์แพงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลจริงหรือ?
ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่เคยยึดติดกับความคิดที่ว่าพลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกราคาแพงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันคือวันที่รัสเซียตัดสินใจรุกรานยูเครนที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้ตลาดก๊าซทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซเป็นสัดส่วนสูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าไทยจะสามารถผลิตก๊าซเองได้บางส่วน แต่ราคาจำหน่ายเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าก็ผันผวนไปตามตลาดโลก นี่คือสาเหตุที่ราคาไฟฟ้าไทยพุ่งทะลุไปเกิน 5 บาทต่อหน่วยซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์! ในฐานะนักการเงิน ผมพยายามหาทางออกในระยะยาว แต่น่าเสียดายที่ตลาดไฟฟ้าของไทยเป็นระบบผูกขาดโดยรัฐวิสาหกิจ ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ จึงถูก ‘มัดมือชก’ ทำให้มีทางเลือกเพียงหนึ่งเดียวที่เหลือคือต้องหาทางผลิตไฟฟ้าด้วยตนเอง ผมจึงหันมามองศึกษาต้นทุนการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันเพื่อประกอบการตัดสินใจ แม้ว่าภาพจำของพลังงานแสงอาทิตย์คือการที่รัฐรับซื้อในราคามากกว่า 6 บาทเมื่อราวทศวรรษก่อน แต่เชื่อไหมครับว่าต้นทุนแผงพลังงานแสงอาทิตย์ถูกลงมาก องค์การพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency) ประมาณการว่าต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงถึง 83 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2010–2022 และถ้าหันไปดูราคารับซื้อของรัฐไทยเอง ก็พบว่าหล่นลงมาอยู่ที่ 2.20 บาท เท่ากับว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต่อหน่วยย่อมต่ำกว่าตัวเลขดังกล่าวอย่างแน่นอน แต่ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงสักบาทแบบนี้จะต้องคำนวณต้นทุนอย่างไร? ด้วยความฉงนสงสัย ผมก็ไปค้นจนได้คำตอบคือคำนวณจาก ‘ต้นทุนไฟฟ้าปรับระดับ’ (Levelized Cost of Energy) หรือที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า LCOE ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเพื่อเปรียบเทียบว่าต้นทุนไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานใดราคาต่ำกว่ากัน LCOE คำนวณอย่างไร การผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนและโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น แม้จะได้ ‘ไฟฟ้า’ เป็นผลผลิตเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างสำคัญคือพลังงานหมุนเวียนไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิง แต่โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงซึ่งมีราคาผันผวนตลอดเวลา เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่าโรงไฟฟ้าใดต้นทุนต่ำกว่า […]
อยากให้ยักษ์ใหญ่มาลงทุน แต่ระบบไฟฟ้าไทย ‘เขียว’ พอแล้วหรือยัง?
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม หลายคนคงผ่านตาข่าวฮือฮาว่าด้วยการมาเยือนประเทศไทยของ สัตยา นาเดลลา ผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก Microsoft พร้อมกับคำมั่นสัญญาว่าจะมาลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย และพัฒนาศักยภาพชาวไทยให้พร้อมใช้งานเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่อย่างปัญญาประดิษฐ์ ข่าวดังกล่าวนับเป็นแสงแห่งความหวังของใครหลายคน ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยเผชิญหน้ากับทางตัน เพราะหวังพึ่งพาสารพัดอุตสาหกรรมยุคเก่า โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เป็น ‘เดอะแบก’ ของเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ทั้งรถยนต์สันดาปที่กำลังเผชิญภัยคุกคามจากยานยนต์ไฟฟ้า และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive) ที่กำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีโซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive) และการเก็บข้อมูลในคลาวด์ ขณะที่เม็ดเงินลงทุนในเทคโนโลยีดาวรุ่ง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือเซมิคอนดักเตอร์ถูกผันไปยังประเทศข้างเคียง น่าเสียดายที่จวบจนปัจจุบันเรายังไม่เห็นตัวเลขเม็ดเงินลงทุนที่ชัดเจนจาก Microsoft แตกต่างจากแผนการลงทุนของในประเทศอื่นๆ แถบเอเชียที่ไมโครซอฟต์ประกาศตัวเลขชัดเจน เช่น แผนการลงทุนในอินโดนีเซีย มูลค่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในประเทศมาเลเซีย มูลค่า 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำไปสู่คำถามว่า เพราะเหตุใด Microsoft จึงไม่ประกาศตัวเลขของประเทศไทย สำนักข่าว THE STANDARD WEALTH สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสองท่านที่เสนอ 2 ความไม่พร้อมของประเทศไทย ประกอบด้วยความไม่พร้อมด้านแรกคือนโยบาย ความไม่พร้อมด้านที่สองคือแรงงาน ส่วนในบทความนี้ ผมขอเสนอความไม่พร้อมด้านที่สาม คือการผลิตไฟฟ้าของไทยที่อาจยังไม่ ‘เขียว’ พอจะดึงดูดยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟต์ เมื่อเหล่ายักษ์ใหญ่ต้องการใช้พลังงาน ‘เขียว’ […]
วิกฤติโลกรวนสร้างความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจอย่างไร?
เนื่องจากภาคธุรกิจคือตัวการสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ และขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจเองก็กำลังเผชิญความเสี่ยงมหาศาลจากความแปรปรวนของสภาพอากาศเช่นนี้ เราจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภาคธุรกิจคือกุญแจสำคัญที่จะพาไปสู่ทางออกวิกฤตโลกรวน หากว่าภาคธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำได้
วิกฤติโลกรวนเกิดจากอะไร? วิทยาศาสตร์ว่าด้วยภาวะโลกร้อน
ไม่ว่าจะเผชิญกับอากาศร้อนดังนรก หรือโดนถล่มโดยฝนห่าใหญ่ จนถึงปัจจุบันนี้ยังมีคนเชื่ออยู่ว่า “โลกรวน” หรือ Climate Change ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากมนุษย์ แต่เป็นเรื่องที่เป็นไปตามวัฏจักรของธรรมชาติ แม้วิทยาศาตร์จะมีคำตอบให้กับเรื่องนี้มานานนับทศวรรษก็ตาม ฝนถล่มฟ้าเมื่อหลายวันที่ผ่านมาคงจะทำให้ชีวิตหลายคนลำบากไม่น้อย ถึงแม้ในอีกมุมนึงฝนห่าใหญ่จะมาคลายความร้อนที่ต่อเนื่องเนิ่นนานตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมไปได้บ้าง อากาศที่ร้อนขึ้นอย่างผิดสังเกตกลายเป็นกระแสเสียงบ่นระงมว่า ‘ร้อนกว่าสมัยเด็กๆ’ ความรู้สึกของเราสอดคล้องกับสถิติที่ Copernicus Climate Change Service เปิดเผยว่าอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกในเดือนเมษาที่ผ่านมาร้อนขึ้นราว 1.61 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ปฏิเสธไม่ได้ว่าความร้อนทะลุปรอทเมื่อนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ 99 คนจาก 100 คน เห็นต้องตรงกันว่าแนวโน้มอุณภูมิบนพื้นผิวโลกเฉลี่ยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมามีสาเหตุสำคัญจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ การรับมือ ‘สภาวะโลกร้อน’ เป็นประเด็นที่ถูกอภิปรายอย่างกว้างขวางบนเวทีโลกมายาวนานกว่าสามทศวรรษโดยมีจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการคืออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งช่วงแรกเริ่มประสบอุปสรรคและคำถามนานัปการ แต่เมื่อภาวะโลกรวนเริ่มเผยตัวรุนแรงยิ่งขึ้น นานาประเทศจึงเริ่มตระหนักว่าภาวะโลกร้อนคือ ‘ของจริง’ ไม่ใช่แค่คำทำนายหายนะในนวนิยายวิทยาศาสตร์ ความพยายามรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจังจึงเริ่มต้นอีกครั้งโดยมีหมุดหมายสำคัญคือข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมาซึ่งมุ่งมั่นจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ในบทความนี้ ผู้เขียนอยากชวนผู้อ่านไปคลายข้อสงสัยว่าด้วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของภาวะโลกร้อน รวมถึงข้อพิสูจน์ว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ต้นธารของวิทยาศาสตร์โลกร้อน แม้หลายคนจะมองว่าศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องสลับซับซ้อน แต่ทราบไหมครับว่าครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ต้องสืบย้อนไปถึงปี 1896 […]
‘สมาร์ทกริด’ เทคโนโลยีจำเป็น ก่อนเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน
ระบบสายส่งไฟฟ้า (electrical grid) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ระบบกริด เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการขององค์การรัฐวิสาหกิจของไทย และไม่ค่อยมีใครพูดถึงมากนัก แต่ระบบสายส่งไฟฟ้ามีความสำคัญต่อระบบไฟฟ้าไทย เพราะช่วยให้เราทุกคนมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคง ในยุควิกฤติโลกรวนที่นานาประเทศทั่วโลกต่างต้องลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ระบบสายส่งไฟฟ้านับว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานอันดับแรกๆ ที่ต้องเร่งพัฒนา เพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน สาเหตุก็เนื่องจากรูปแบบการผลิตไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ เดิมทีระบบสายส่งไฟฟ้าสร้างมาเพื่อส่งพลังงานไฟฟ้าแรงสูงจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งไปยังครัวเรือนต่างๆ แต่พลังงานหมุนเวียน เช่น แผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา จะคล้ายกับโรงไฟฟ้าขนาดจิ๋วที่กระจายตัวอยู่หลากหลายแหล่ง ยังไม่นับลักษณะการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากคาดการณ์ไม่ดี จัดการไม่ได้ ระบบไฟฟ้าทั้งหมดก็อาจระส่ำระสาย แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เพิ่มเป้าหมายสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้าจาก 20 เปอร์เซ็นต์เป็น 37 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2580 โดยมีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวชูโรงโดยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 22 เปอร์เซ็นต์ของกำลังการผลิตไฟฟ้า โดยล่าสุดรัฐบาลเตรียมประกาศแผนพลังงานชาติพร้อมกับระบุว่า พร้อมเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในระบบให้ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ความฝันดังกล่าวคงยากจะเป็นความจริง หากรัฐบาลไม่ทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนา ‘สมาร์ทกริด’ ให้สามารถรองรับรูปแบบการผลิตไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพิ่มความยืดหยุ่นระบบไฟฟ้าด้วยสมาร์ทกริด สมาร์ทกริดไม่มีนิยามตายตัวที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐฯ (National Institute of Standards and […]
สื่อ
CFNT แถลงผลงานวิจัย – ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวด์ฟันดิงในไทย
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 Climate Finance Network Thailand (CFNT) ได้แถลงผลงานวิจัยฉบับที่สองในชื่อ “ใช้พลังมวลชน: เพิ่มการเข้าถึงเงินทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์ครัวเรือนด้วยโมเดลคราวด์ฟันดิงในไทย” ภายในงานยังมีการเสวนาหัวข้อ “ปลดพันธนาการโซลาร์” แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงจากผู้ประกอบการพลังงาน นักนโยบายสาธารณะ และผู้บริหารแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิง เพื่อหารือเส้นทางสู่อนาคตพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย รับชมงานที่น่าสนใจนี้เพื่อสำรวจแนวคิดที่พลิกโฉมและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดในประเทศไทย สารบัญ00:00 | กล่าวเปิดงานทั่วไป00:03:42 | กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย คุณสรินี ผู้อำนวยการ CFNT00:14:42 | สรุปงานวิจัย: ใช้พลังมวลชน01:25:00 | พัก01:34:50 | เสวนา: ปลดพันธนาการโซลาร์
CFNT Webinar Series – Integration of Higher Solar and Wind Energy into the Power Grid
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (CFNT) ได้จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Integration of Higher Solar and Wind Energy into the Power Grid” ภายในงานได้มีการพูดคุยถึงโอกาสและความท้าทายในการบูรณาการแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีความแปรปรวนสูง (Variable Renewable Energy หรือ VRE) เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม เข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศไทย โดยมีการสำรวจผลกระทบของพลังงานเหล่านี้ต่อการดำเนินงานของระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบดั้งเดิม พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า รวมถึงวิธีการที่การใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับสูงจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า และสนับสนุนการใช้งานพลังงานหมุนเวียนในหมู่ประชาชน วิทยากรในครั้งนี้คือ ดร.ธรินทร์ญา สุภาษา ผู้นำโครงการนโยบายพลังงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก Agora Energiewende ซึ่งได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
CFNT Webinar Series – Time to Act: Looming Climate Impacts on Thailand’s Financial Sector
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (CFNT) ได้จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Time to Act: Looming Climate Impacts on Thailand’s Financial Sector.” ภายในงานได้มีการพูดคุยถึงวิกฤติโลกร้อนว่าส่งผลกระทบต่อภาคการเงินของประเทศไทยอย่างไร เรามีวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านภูมิอากาศอย่างไรบ้าง และหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินจะมีบทบาทในจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างไร วิทยากรเรียนเชิญในครั้งนี้คือ ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดร.กรรณิการ์ มีความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเฉพาะนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการพัฒนาสีเขียว
เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน
เครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Finance Network Thailand – CFNT) เป็นศูนย์วิจัยและองค์กรเครือข่าย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2567 เรามุ่งเน้นการส่งเสริมแนวปฏิบัติทางการเงินที่ยั่งยืนและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส วัตถุประสงค์สูงสุดของเราคือการเพิ่มการตอบสนองของภาคการเงินไทยต่อความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ และร่วมมือกับพันธมิตรในการกำหนดภูมิทัศน์ทางการเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนระดับโลก เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และครอบคลุม