บทความ
เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน ทางออกของวิกฤติภูมิอากาศ?
แรกเริ่มเดิมที โลกของเราสร้างสมดุลจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกตามธรรมชาติด้วยกลไกการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเหล่าพืชพรรณผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง แต่นับจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ก็ขุดเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติมาเผาเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมหาศาลจนกลไกดั้งเดิมไม่อาจรับไหว
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านก๊าซธรรมชาติ อุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย
ประเทศไทยให้คำมั่นต่อนานาประเทศว่าจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจำกัดอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมตามข้อตกลงปารีส กระนั้น การเติบโตของความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจีในประเทศไทยกลับฉายภาพตรงกันข้าม และอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต ข้อมูลจาก Kpler ระบุว่าในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีการนำเข้าแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตัวเลขการนำเข้า ณ เดือนตุลาคมอยู่ที่ 22.9 ล้านลูกบาศก์เมตร นับว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการนำเข้าในปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 19.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ตัวเลขดังกล่าวทำให้ประเทศไทยขยับขึ้นจากอันดับ 11 สู่อันดับ 8 ของผู้นำเข้าแอลเอ็นจีทั่วโลก โดยอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงปี พ.ศ. 2565 สวนทางกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียที่ต่างลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวเนื่องจากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนช่วงปี พ.ศ. 2565 ตัวแปรหลักที่ทำให้ตัวเลขการนำเข้าแอลเอ็นจีของไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดหรือราว 1.27 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2562 คือการพึ่งพาแก๊สธรรมชาติปริมาณมหาศาลเพื่อการผลิตไฟฟ้า ข้อมูลขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency หรือ IEA) ระบุว่าการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2564 พึ่งพาก๊าซธรรมชาติคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 62.2 […]
ไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมทางการเงิน
ปรากฎการณ์เอลนีโญในปีนี้ทำให้ทั่วโลกรู้ว่า ‘ภาวะโลกร้อน’ คือของจริง หลายประเทศทุบสถิติความร้อนไปตามๆ กัน แม้แต่ประเทศไทยเองก็เผชิญความร้อนอย่างถ้วนหน้าโดยในช่วงเดือนพฤษภาคมแตะทะลุ 40 องศาทั่วประเทศนำไปสู่ระดับการใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ น่าแปลกใจที่หลักฐานเชิงประจักษ์ตรงหน้ากลับไม่ช่วยทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนรวดเร็วขึ้น ทั้งที่เทคโนโลยีทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมจะราคาถูกลงอย่างมาก แต่อัตราการเติบโตของภาคพลังงานดังกล่าวในประเทศไทยในช่วงห้าปีหลังเรียกได้ว่าค่อนข้างคงที่ หากเทียบกับเวียดนามที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไทยเคยเป็นผู้นำของภูมิภาค แต่ปัจจุบันเวียดนามกลับสามารถเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งจนมากกว่าไทยถึง 5 เท่าตัว น่าแปลกใจที่รัฐบาลไทยดูจะให้ความสำคัญกับการซื้อพลังงานน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระดับหายนะ หรือการสร้างโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวลที่มีข้อกังขาหลายประการถึงความยั่งยืนในแง่การแก่งแย่งทรัพยากรน้ำและที่ดินในการใช้ปลูกพืชอาหาร แต่กลับมองข้ามพลังงานศักยภาพสูงอย่างแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเรือน ในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา บ้านผู้เขียนเองก็เผชิญกับค่าไฟที่พุ่งสูงจนต้องมองหาทางออกใหม่นั่นคือการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา แต่เมื่อเห็นราคาก็ต้องปาดเหงื่อ เพราะหากจะติดตั้งให้สมน้ำสมเนื้อกับการใช้ไฟฟ้าก็ต้องใช้ทุนรอนหลักแสนโดยใช้ระยะเวลาคืนทุนร่วมสิบปี นี่คือหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่อาจทำให้โครงการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านของผมและอีกหลายคนไม่สามารถกลายเป็นความจริง แต่ปัญหาดังกล่าวก็ใช่ว่าจะไร้ทางออก เพราะสามารถคลี่คลายได้ด้วยนวัตกรรมทางการเงินซึ่งประสบความสำเร็จในหลายประเทศ อุปสรรคของพลังงานหมุนเวียนสำหรับรายย่อย อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมจึงไม่เลือกใช้ช่องทางจัดหาเงินทั่วไป เช่น การกู้ธนาคารพาณิชย์ สำหรับเป็นเงินทุนในการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ สาเหตุก็เนื่องจากช่องทางเหล่านั้นไม่ตอบโจทย์สำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลซึ่งโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนแบบพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ หากมองในมุมของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ต้นทุนในการทำธุรกรรมปล่อยสินเชื่อโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กนั้นไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายแถมยังใช้เวลาคืนทุนที่ยาวนาน โครงการเช่นนี้จึงจัดเป็นโครงการประเภทที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนต่ำอย่างยิ่ง เหล่านายธนาคารจึงมองหาทางเลือกอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังต้องใช้ข้อมูลการชำระหนี้ในอดีตจำนวนมากของโครงการลักษณะเดียวกันเพื่อประเมินความเสี่ยง แต่ด้วยความที่โครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กนับเป็นเรื่องใหม่มากๆ ธนาคารจึงต้องประเมินความเสี่ยงให้สูงไว้ก่อนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง กลายเป็นว่าสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติก็อาจมาพร้อมกับดอกเบี้ยที่สูงลิ่วจนไม่ดึงดูดใจผู้ที่มาขอสินเชื่อเช่นกัน อุปสรรคของโครงการพลังงานหมุนเวียนสำหรับรายย่อยไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องการขอสินเชื่อเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องปัญหาระหว่างผู้เช่ากับเจ้าของสินทรัพย์ (Landlord-Tenant Problems) อีกด้วย สมมติว่ามีบ้านเช่าหลังหนึ่งต้องการติดแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา คำถามที่ตามมาคือใครต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินลงทุนค่าติดตั้งดังกล่าว หากมองในมุมของเจ้าของบ้านเช่า การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ย่อมเป็นการปรับปรุงอาคารที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เจ้าของบ้านจะไม่ได้เป็นผู้รับประโยชน์ในระยะสั้น เนื่องจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้เช่า ถึงแม้ว่าผู้เช่าจะได้ประโยชน์ทางตรง […]
ทำไมประเทศไทยต้องเร่งลดการปล่อยก๊าซมีเทน
เมื่อพูดถึงก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ตัวการอันดับแรกที่ปรากฎในความคิดย่อมหนีไม่พ้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่หากเทียบกันในกรอบระยะเวลา 20 ปี ก๊าซมีเทนส่งผลให้อุณภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80 เท่าตัว อีกทั้งยังเป็นสาเหตุเกือบครึ่งหนึ่งของอุณหภูมิที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ก๊าซมีเทนไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะเชื้อเพลิงอย่างก๊าซธรรมชาติที่เราคุ้นเคยกันดีมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่การประชุม COP26 ที่กลาสโกว์ หลายประเทศทั่วโลกก็เริ่มหันมาสนใจก๊าซมีเทน เนื่องจากอายุในชั้นบรรยากาศที่น้อยกว่าและสามารถกักเก็บความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การลดการปล่อยก๊าซมีเทนจึงเป็นการแก้ปัญหาสภาพอากาศที่ง่ายและได้ผลรวดเร็วที่สุด นำไปสู่การให้คำมั่นโดยบรรดาผู้นำนานาประเทศในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนลง 30 เปอร์เซ็นต์ภายในหนึ่งทศวรรษหรือที่เรียกว่าปฏิญญาสากลเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทน (Global Methane Pledge) ต่อเนื่องมายังการประชุม COP28 ที่ถูกจับตาและวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะเจ้าภาพผู้จัดการประชุมยังเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ซึ่งอาจไม่เห็นด้วยมากนักกับแผนลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อรับมือวิกฤติภูมิอากาศ ในทางกลับกัน หลายคนก็คาดหวังว่าเจ้าภาพจะสามารถนำผู้นำในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลมานั่งในวงประชุม หนึ่งในผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมคือเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2566 เหล่ายักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมน้ำมันรวม 50 บริษัทก็ได้บรรลุโครงการความร่วมมือที่ชื่อว่า The Oil & Gas Methane Partnership 2.0 (OGMP 2.0) เพื่อขจัดการปล่อยก๊าซมีเทนในกิจกรรมสำรวจและผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เป็นศูนย์ แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าโครงการความร่วมมือดังกล่าวไม่ต่างจากการ ‘ฟอกเขียว’ เนื่องจากไม่ได้ช่วยนำไปสู่การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแต่อย่างใด แม้ว่าผลลัพธ์ดังกล่าวอาจไม่ใช่การเปลี่ยนแบบพลิกกระดาน แต่อย่างน้อยผู้เขียนมองว่าเหล่าบริษัทในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งที่ผ่านมาปักธงในฐานะผู้ปฏิเสธวิกฤติภูมิอากาศและพยายามขัดขวางการออกกฎหมายทุกประการที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก OGMP 2.0 […]
ภูมิทัศน์ทางการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวนในระดับโลกและประเทศไทย
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 Climate Finance Network Thailand (CFNT) ได้จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ ‘Overview of Climate Finance: Global and Thailand Perspectives’ โดยมี ดร. อรศรัณย์ มนุอมร ที่ปรึกษาทางเทคนิคของ CFNT โดยปัจจุบัน ดร. อรศรัณย์ เป็นที่ปรึกษาให้กับธนาคารโลกด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และเคยมีประสบการณ์การทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศหลายแหล่งมากว่า 19 ปี โดยมุ่งเน้นไปที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงต้นของการสัมมนา ดร. อรศรัณย์ กล่าวถึงความสำคัญของสองแนวคิดหลัก ได้แก่ Climate Change Mitigation ซึ่งหมายถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ Climate Change Adaptation หรือมาตรการในการตั้งรับปรับตัวกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน เช่น การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการสร้างระบบชลประทานเพื่อรับมือกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ดร. อรศรัณย์ ให้คำนิยามการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) […]
โจทย์ใหญ่ของไทยในการมุ่งสู่ ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’ และเป้า Net Zero
เดือนตุลาคม 2566 ประเทศไทยมีรัฐบาลผสมชุดใหม่อย่างเป็นทางการ นำโดยพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ว่ารัฐบาลใหม่จะเป็นขั้วใหม่ ขั้วเดิม หรือตระบัดสัตย์ข้ามขั้ว สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ ไม่ว่ารัฐบาลจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด (หรือไม่มีอุดมการณ์เลยก็ตาม) ประเทศไทยก็ไม่อาจละเลยเส้นทางการมุ่งสู่ ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’ หรือ low-carbon society ที่จำเป็นต้องเกิดเป็นรูปธรรมภายใน 30-40 ปีข้างหน้า ได้อีกต่อไป ในเมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) หรือภาวะโลกรวน ได้ยกระดับเป็น ‘ภาวะโลกเดือด’ หรือ climate crisis ไปแล้วในคำพูดของเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา เพื่อร่วมสะท้อนความเร่งด่วนของปัญหา ต่อไปเวลาเขียนบทความ ผู้เขียนจะใช้คำว่า ‘ภาวะโลกเดือด’ แทนที่ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘ภาวะโลกรวน’ รัฐบาลชุดใหม่ของไทยดูเผิน ๆ ก็ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ ดังสะท้อนจากถ้อยแถลงของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกันยายน 2566 ซึ่งเป็นทริปต่างประเทศและเวทีระดับโลกครั้งแรกของนายกฯ […]